วันเสาร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ประโยชน์ของblogger ประโยชน์ของgoogle +

    1. ใช้เป็นเครื่องมือสร้างความรู้ การเขียน blog สำหรับบันทึกเรื่องราว  ข่าวสาร  ความรู้และประสบการณ์ต่าง ๆ ในสิ่งที่ผู้เล่าสนใจ เป็นการถ่ายทอดสิ่งที่ถูกบันทึกไว้ในสมองลงสู่ตัวหนังสือการเขียนต้องมีอิสระทางความคิดในรูปแบบที่เป็นตัวของตัวเอง จะช่วยอำนวยให้การดึงเอาความรู้ฝังลึกถูกแสดงออกมาได้โดยไม่ยากนักน็ และการเขียน blog อยู่เป็นประจำก็จะสามารถนำมาสู่การสร้างขุมความรู้  ( Knowledge  Assets ) อย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ การเก็บรวบรวมและการแก้ไขหรือเพิ่มเติมความรู้ก็ทำได้โดยสะดวก รวดเร็ว
   
    2. เป็นเครื่องมือในการเผยแพร่ความรู้ โดยหลักการของ blog คือการเผยแพร่เรื่องราวที่ผู้เขียนเขียนไว้บน blog เพื่อแสดงตัวตนของผู้เขียนออกสู่สาธารณชนซึ่งนั่นหมายถึง blog ย่อมมีความสามารถในการสนับสนุนการเข้าถึงความรู้ได้ง่าย สะดวก และรวดเร็ว ทันทีที่ผู้เขียนมีการเพิ่มเติมหรือแก้ไขความรู้ที่มีอยู่บน blog ไฟล์ RSS ก็จะทำการดึงเอาเนื้อหานั้น ๆ มาใส่ไว้ในไฟล์ด้วยทันที
    
    3. เป็นเครื่องมือแลกเปลี่ยนความรู้ การเขียน blog จะอนุญาตให้ผู้อ่านสามารถแสดงความคิดเห็นต่อความรู้ที่ผู้เขียนถ่ายทอดลงไปใน blog และผู้เขียนได้เขียนโต้ตอบต่อความคิดเห็นนั้น ๆ ในลักษณะของการสนทนาเพื่อหาความแตกฉานในตัวความรู้ ถือได้ว่าเป็นการร่วมกันสกัดความรู้ฝังลึกได้อย่างดี
    
    4. เป็นเครื่องมือในการค้นหาความรู้ ผู้ชำนาญการ และชุมชนปฏิบัติ การเขียนและอ่าน blog เป็นวิธีการค้นหาความรู้ ช่วยให้ค้นพบผู้มีความรู้ความชำนาญในด้านต่าง ๆ ได้รวดเร็วขึ้น ไม่ว่าจะโดยการเขียน blog ที่มักอ้างถึง blog อื่น ๆ โดยการโยงลิค์ไปหาบทความหรือบันทึกนั้น ๆ อีกทั้งลิค์ที่ผู้เขียนบรรจุไว้ใน blog ซึ่งอยู่นอกตัวบทความ หรือการร่วมเป็นสมาชิกของ blog ชุมชน
    
    5. เป็นเครื่องมือในการรวบรวมและแยกแยะประเภทของความรู้ สกัดแก่นความรู้ และสร้างความสัมพันธ์ของความรู้ วิธีการหนึ่งที่ระบบ blog โดยทั่วไปนำมาใช้ในการรวบรวมและแยกประเภทของของบันทึก คือการให้ผู้เขียนระบุหมวดหมู่หรือคีย์เวิร์ดของบันทึกนั้น ๆ ไว้ ซึ่งบันทึกหนึ่ง ๆ อาจมีความเหมาะสมในการแยกหลายหมวดหมู่ ถือเป็นการสกัดแก่นความรู้จากขุมความรู้ โดยที่ตัวผู้เขียนเอง อาจจะดึงเอาคีย์เวิร์ดของชุมชนที่ถูกรวบรวมผู้ใช้หลายคน
    
    6. เป็นเครื่องมือในการสร้างลำดับความน่าเชื่อถือและความถูกต้องของความรู้โดยผู้นำเอาความรู้นั้นไปใช้                      สิ่งที่นักปฏิบัติด้านการจัดการความรู้อยากให้เกิดขึ้นภายหลังจากการที่ได้มีการจัดการความรู้ ก็คือ การที่มีผู้อื่นนำเอาความรู้นั้น ๆ ไปใช้ให้เกิดผลและนำผลมาปรับปรุงความรู้เดิมให้เกิดความรู้ตัวใหม่ หรือทำให้ความรู้นั้น ๆ มีความถูกต้องมีหลักฐานที่วัดได้ทางวิทยาศาสตร์ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ระบบ blog ประกอบกับเทคโนโลยีในการ พัฒนาเว็ปในปัจจุบัน สามารถสร้างระบบ Rating หรือระบบการจัดลำดับความน่าเชื่อถือ และความถูกต้องของความรู้หนึ่ง ๆ ได้โดยตรงจากผู้อ่าน blog  ซึ่งอาจจะเป็น ผู้ที่ได้นำเอาความรู้นั้นๆ ไปใช้เองอีกด้วย หรือการแสดงสถิติต่างๆของ blog เช่น บันทึกที่ได้รับการแสดงข้อคิด เห็นมากที่สุด หรือ บันทึกที่มีผู้อ่านมากที่สุด ก็สามารถเป็นเครื่องมือพิสูจน์ความน่าเชื่อถือ และความถูกต้องของความรู้ได้ในระดับหนึ่งด้วยเช่นกัน
    
    7. ใช้เป็นเครื่องมือแสดงรายละเอียดของแก่นความรู้อย่างเป็นระบบซึ่งนักวิทยาศาสตร์ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ กล่าวไว้ว่า “Imagination is more important than knowledge.”  การไม่หยุดคิดที่จะวิจัยและพัฒนา เครืองมือเทคโนโลยีเพื่อช่วยสร้างความสมบูรณ์แบบของระบบ การจัดการกับความรู้เป็นสิ่งที่สนับสนุนให้เกิดขึ้นได้ เช่น ในปัจจุบันระบบ blog ถือว่าเป็นเครื่องมือสำหรับเสริมสร้างประสิทธิภาพในการเล่าเรื่อง ซึ่งถือเป็นเทคนิคที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายในการจัดการความรู้ แต่เพื่อที่จะสกัดความรู้ฝังลึกที่มีความซับซ้อน การใช้เทคนิคการเล่าเรื่องเพียงอย่างเดียว หรือการร่วมช่วยกันเล่าก็ตาม ก็อาจจะยังไม่สามารถสกัดเอาความรู้ออกมาได้หมด เพราะความสับสน และความไม่มีรูปแบบในตัว ของความรู้เอง ดังนั้น เทคโนโลยีที่น่าจะสามารถช่วยจัดการความรู้ประเภทนี้ได้ ก็เช่น Rule-based reasoning หรือ Fuzzy logic เพื่อ ใช้ในการทำเหมืองความรู้ ( Knowledge mining ) เป็นต้น
    
    8. เป็นศูนย์ความรู้ขององค์การ เพราะให้พนักงานและบุคลากร แต่ละคนเขียน blog ส่วนตัวไว้ หากพนักงานและบุคลากรท่านนั้นลาออกไป ความรู้ยังคงอยู่ที่องค์กรให้รุ่นน้องศึกษาไปโดยการถ่ายทอด หรือแลกเปลี่ยนความรู้ โดยเฉพาะ  Tacit  Knowledge เขียนออกมาเป็น “เรื่องเล่า”..... 


7 เหตุผลที่เราควรมี Google+ Pages

1. เพิ่มประสิทธิภาพในการทำ SEO
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง, ถ้าแบรนด์ของเรามีเว็บไซต์ การทำ Google+ Page ถือว่าเป็นอีกทางหนึ่งที่จะช่วยเชื่อมต่อผู้คนใน Google+ Page ให้เข้าเว็บไซต์เราได้ง่ายขึ้น โดยตัวระบบของ Google เอง ก็กำลังพยายามและสร้าง ecosystem ที่เชื่อมบริการต่างๆ เข้าด้วยกันด้วยความเป็น Social อยู่แล้ว เช่น ก่อนหน้านี้เราอาจจะ search หาอะไรซักอย่างใน Google แล้วไปเจอเว็บแรกเป็นเว็บที่ทำ SEO เก่งๆ แต่หลังจากนี้ เวลาเรา search อะไรใน Google ระบบจะนำเว็บที่มีเพื่อนใน Google+ แชร์เอาไว้ และมีคีย์เวิร์ดตรงกับที่เราหาพอดี มาแสดงให้เราเห็นเป็นอันดับแรกแทน อะไรงี้เป็นต้น
ตัวอย่างของการเชื่อม Google+ เข้ากับ Google Search ด้วย Direct Connect
2. สามารถ Hangout ได้
3. ขยายโอกาสในการเผยแพร่ content 
ข้อนี้โดยส่วนตัวคิดว่า ในไทยนี่ Facebook Page ค่อนข้างเวิร์กกว่านะ แต่ก็ไม่เสมอไป ถ้าเราสร้างคอนเทนต์ดีๆ โอกาสที่คอนเทนต์นั้นจะโดนส่งต่อใน Google+ มากกว่า Facebook ก็อาจจะมีก็ได้
4. เชื่อมต่อกับกลุ่ม Early Adopters ได้
แน่นอนว่าตอนนี้กลุ่มคนที่เล่น Google+ ส่วนมากจะเป็นคนที่ชอบเทคโนโลยี อารมณ์ว่าชอบเล่นชอบลองอะไรใหม่ๆ ไรงี้ ซึ่งถ้าเราเป็นเจ้าของสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ไอที การมี Google+ ก็จัดว่ามีประโยชน์ เพราะเป็นการเข้าถึงกลุ่ม Early Adopters เหล่านี้ได้โดยตรง
5. แบ่งกลุ่ม audience ได้
เช่น ถ้าเราทำธุรกิจขายเสื้อผ้า เราก็อาจจะแบ่งกลุ่มลูกค้าตาม Circle ได้เป็น ลูกค้าผู้ชาย ลูกค้าผู้หญิง ลูกค้าเด็ก บลาๆๆ ซึ่งพอเวลาเราจะสื่อสารอะไร เราก็สามารถแชร์ให้กลุ่มลูกค้าได้ตาม Circle ที่เราจัดเอาไว้และตรงเป้าหมายด้วย
6. ใช้ Google+ เพื่อสร้างเครือข่าย
ด้วยลักษณะการดีไซน์ของ Google+ ที่จัดวางเนื้อหาได้อ่านง่ายสบายตา ก็สามารถทำให้คนที่เข้ามาดู Page ของเรานั้น หาข้อมูลเกี่ยวกับเรา หรือจะติดต่อเราผ่าน Contact Info ก็ทำได้ง่าย หรือจะกดลิงก์ไปยังเว็บไซต์ของเรา ก็ทำได้ง่าย่นเดียวกัน
7. มีไว้ไม่เสียหลาย
ถึงตอนนี้ Google+ จะยังมีคนใช้ไม่มาก อย่างที่บอกไปข้างต้น แต่การได้เริ่มเข้าไปทำอะไรก่อน ก็อาจจะเป็นโอกาสดีที่เราจะเติบโตได้เร็วกว่าคนอื่น (ใน Google+ Page น่ะนะ) อารมณ์ว่าต่อยก่อนได้เปรียบไรงี้ ฮ่า

ข้อเสียของการมี Google+ Pages

พูดถึงข้อดีของการมี Google+ Pages กันไปเยอะแล้ว ก็มาพูดถึงข้อเสียกันบ้าง คือจริงๆ มันก็ไม่เชิงว่าเป็นข้อเสียหรอก แต่เป็นประเด็นยิบย่อยที่ทำให้ยุ่งยากในการดูแล Google+ Pages นั่นเอง มีอะไรบ้างมาดูกันฮับ
1. เสียเวลาในการมาดูแล Google+ Pages
ในขณะที่ Facebook และ Twitter ต่างมี Third Party ที่ช่วยให้เราอัป status หรือเขียนบล็อกปุ๊บ โพสต์ขึ้น Wall และ Timeline ได้ปั๊บ ในขณะที่ Google+ ยังไม่มี ต้องมานั่งอัปเดตเองล้วนๆ โฮก
2. ยังใช้ Social Dashboard Client ไม่ได้
จริงๆ ข้อนี้ก็คล้ายกับข้อแรก ก็คือไม่สามารถจัดการ Google+ Pages ได้จากที่อื่นเลย (ในขณะที่ TweetDeck นี่ โพสต์ได้ทั้ง Twitter และ Facebook แหล่มจริงอะไรจริง)

3. อัตราการเติบโตช้าในขณะที่ถ้าเราสร้าง Facebook Pages แล้วอยากให้คนมากด Like เราก็มีกรรมวิธีมากมายที่จะชวนเพื่อนมา Like Page (รวมถึงการสร้างแคมเปญผ่าน Facebook App ไรงี้) แต่ Google+ นี่ กว่าจะมีคนมากด +1 หรือ Add to Circles ซักที มันช่างยากเย็นแสนเข็ญเหลือเกินเนอะ :h_prakprak:


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น