2. เป็นเครื่องมือในการเผยแพร่ความรู้ โดยหลักการของ blog คือการเผยแพร่เรื่องราวที่ผู้เขียนเขียนไว้บน blog เพื่อแสดงตัวตนของผู้เขียนออกสู่สาธารณชนซึ่งนั่นหมายถึง blog ย่อมมีความสามารถในการสนับสนุนการเข้าถึงความรู้ได้ง่าย สะดวก และรวดเร็ว ทันทีที่ผู้เขียนมีการเพิ่มเติมหรือแก้ไขความรู้ที่มีอยู่บน blog ไฟล์ RSS ก็จะทำการดึงเอาเนื้อหานั้น ๆ มาใส่ไว้ในไฟล์ด้วยทันที
3. เป็นเครื่องมือแลกเปลี่ยนความรู้ การเขียน blog จะอนุญาตให้ผู้อ่านสามารถแสดงความคิดเห็นต่อความรู้ที่ผู้เขียนถ่ายทอดลงไปใน blog และผู้เขียนได้เขียนโต้ตอบต่อความคิดเห็นนั้น ๆ ในลักษณะของการสนทนาเพื่อหาความแตกฉานในตัวความรู้ ถือได้ว่าเป็นการร่วมกันสกัดความรู้ฝังลึกได้อย่างดี
4. เป็นเครื่องมือในการค้นหาความรู้ ผู้ชำนาญการ และชุมชนปฏิบัติ การเขียนและอ่าน blog เป็นวิธีการค้นหาความรู้ ช่วยให้ค้นพบผู้มีความรู้ความชำนาญในด้านต่าง ๆ ได้รวดเร็วขึ้น ไม่ว่าจะโดยการเขียน blog ที่มักอ้างถึง blog อื่น ๆ โดยการโยงลิค์ไปหาบทความหรือบันทึกนั้น ๆ อีกทั้งลิค์ที่ผู้เขียนบรรจุไว้ใน blog ซึ่งอยู่นอกตัวบทความ หรือการร่วมเป็นสมาชิกของ blog ชุมชน
5. เป็นเครื่องมือในการรวบรวมและแยกแยะประเภทของความรู้ สกัดแก่นความรู้ และสร้างความสัมพันธ์ของความรู้ วิธีการหนึ่งที่ระบบ blog โดยทั่วไปนำมาใช้ในการรวบรวมและแยกประเภทของของบันทึก คือการให้ผู้เขียนระบุหมวดหมู่หรือคีย์เวิร์ดของบันทึกนั้น ๆ ไว้ ซึ่งบันทึกหนึ่ง ๆ อาจมีความเหมาะสมในการแยกหลายหมวดหมู่ ถือเป็นการสกัดแก่นความรู้จากขุมความรู้ โดยที่ตัวผู้เขียนเอง อาจจะดึงเอาคีย์เวิร์ดของชุมชนที่ถูกรวบรวมผู้ใช้หลายคน
6. เป็นเครื่องมือในการสร้างลำดับความน่าเชื่อถือและความถูกต้องของความรู้โดยผู้นำเอาความรู้นั้นไปใช้ สิ่งที่นักปฏิบัติด้านการจัดการความรู้อยากให้เกิดขึ้นภายหลังจากการที่ได้มีการจัดการความรู้ ก็คือ การที่มีผู้อื่นนำเอาความรู้นั้น ๆ ไปใช้ให้เกิดผลและนำผลมาปรับปรุงความรู้เดิมให้เกิดความรู้ตัวใหม่ หรือทำให้ความรู้นั้น ๆ มีความถูกต้องมีหลักฐานที่วัดได้ทางวิทยาศาสตร์ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ระบบ blog ประกอบกับเทคโนโลยีในการ พัฒนาเว็ปในปัจจุบัน สามารถสร้างระบบ Rating หรือระบบการจัดลำดับความน่าเชื่อถือ และความถูกต้องของความรู้หนึ่ง ๆ ได้โดยตรงจากผู้อ่าน blog ซึ่งอาจจะเป็น ผู้ที่ได้นำเอาความรู้นั้นๆ ไปใช้เองอีกด้วย หรือการแสดงสถิติต่างๆของ blog เช่น บันทึกที่ได้รับการแสดงข้อคิด เห็นมากที่สุด หรือ บันทึกที่มีผู้อ่านมากที่สุด ก็สามารถเป็นเครื่องมือพิสูจน์ความน่าเชื่อถือ และความถูกต้องของความรู้ได้ในระดับหนึ่งด้วยเช่นกัน
7. ใช้เป็นเครื่องมือแสดงรายละเอียดของแก่นความรู้อย่างเป็นระบบซึ่งนักวิทยาศาสตร์ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ กล่าวไว้ว่า “Imagination is more important than knowledge.” การไม่หยุดคิดที่จะวิจัยและพัฒนา เครืองมือเทคโนโลยีเพื่อช่วยสร้างความสมบูรณ์แบบของระบบ การจัดการกับความรู้เป็นสิ่งที่สนับสนุนให้เกิดขึ้นได้ เช่น ในปัจจุบันระบบ blog ถือว่าเป็นเครื่องมือสำหรับเสริมสร้างประสิทธิภาพในการเล่าเรื่อง ซึ่งถือเป็นเทคนิคที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายในการจัดการความรู้ แต่เพื่อที่จะสกัดความรู้ฝังลึกที่มีความซับซ้อน การใช้เทคนิคการเล่าเรื่องเพียงอย่างเดียว หรือการร่วมช่วยกันเล่าก็ตาม ก็อาจจะยังไม่สามารถสกัดเอาความรู้ออกมาได้หมด เพราะความสับสน และความไม่มีรูปแบบในตัว ของความรู้เอง ดังนั้น เทคโนโลยีที่น่าจะสามารถช่วยจัดการความรู้ประเภทนี้ได้ ก็เช่น Rule-based reasoning หรือ Fuzzy logic เพื่อ ใช้ในการทำเหมืองความรู้ ( Knowledge mining ) เป็นต้น
8. เป็นศูนย์ความรู้ขององค์การ เพราะให้พนักงานและบุคลากร แต่ละคนเขียน blog ส่วนตัวไว้ หากพนักงานและบุคลากรท่านนั้นลาออกไป ความรู้ยังคงอยู่ที่องค์กรให้รุ่นน้องศึกษาไปโดยการถ่ายทอด หรือแลกเปลี่ยนความรู้ โดยเฉพาะ Tacit Knowledge เขียนออกมาเป็น “เรื่องเล่า”.....
7 เหตุผลที่เราควรมี Google+ Pages
1. เพิ่มประสิทธิภาพในการทำ SEO
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง, ถ้าแบรนด์ของเรามีเว็บไซต์ การทำ Google+ Page ถือว่าเป็นอีกทางหนึ่งที่จะช่วยเชื่อมต่อผู้คนใน Google+ Page ให้เข้าเว็บไซต์เราได้ง่ายขึ้น โดยตัวระบบของ Google เอง ก็กำลังพยายามและสร้าง ecosystem ที่เชื่อมบริการต่างๆ เข้าด้วยกันด้วยความเป็น Social อยู่แล้ว เช่น ก่อนหน้านี้เราอาจจะ search หาอะไรซักอย่างใน Google แล้วไปเจอเว็บแรกเป็นเว็บที่ทำ SEO เก่งๆ แต่หลังจากนี้ เวลาเรา search อะไรใน Google ระบบจะนำเว็บที่มีเพื่อนใน Google+ แชร์เอาไว้ และมีคีย์เวิร์ดตรงกับที่เราหาพอดี มาแสดงให้เราเห็นเป็นอันดับแรกแทน อะไรงี้เป็นต้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง, ถ้าแบรนด์ของเรามีเว็บไซต์ การทำ Google+ Page ถือว่าเป็นอีกทางหนึ่งที่จะช่วยเชื่อมต่อผู้คนใน Google+ Page ให้เข้าเว็บไซต์เราได้ง่ายขึ้น โดยตัวระบบของ Google เอง ก็กำลังพยายามและสร้าง ecosystem ที่เชื่อมบริการต่างๆ เข้าด้วยกันด้วยความเป็น Social อยู่แล้ว เช่น ก่อนหน้านี้เราอาจจะ search หาอะไรซักอย่างใน Google แล้วไปเจอเว็บแรกเป็นเว็บที่ทำ SEO เก่งๆ แต่หลังจากนี้ เวลาเรา search อะไรใน Google ระบบจะนำเว็บที่มีเพื่อนใน Google+ แชร์เอาไว้ และมีคีย์เวิร์ดตรงกับที่เราหาพอดี มาแสดงให้เราเห็นเป็นอันดับแรกแทน อะไรงี้เป็นต้น
ตัวอย่างของการเชื่อม Google+ เข้ากับ Google Search ด้วย Direct Connect
2. สามารถ Hangout ได้
2. สามารถ Hangout ได้
3. ขยายโอกาสในการเผยแพร่ content
ข้อนี้โดยส่วนตัวคิดว่า ในไทยนี่ Facebook Page ค่อนข้างเวิร์กกว่านะ แต่ก็ไม่เสมอไป ถ้าเราสร้างคอนเทนต์ดีๆ โอกาสที่คอนเทนต์นั้นจะโดนส่งต่อใน Google+ มากกว่า Facebook ก็อาจจะมีก็ได้
ข้อนี้โดยส่วนตัวคิดว่า ในไทยนี่ Facebook Page ค่อนข้างเวิร์กกว่านะ แต่ก็ไม่เสมอไป ถ้าเราสร้างคอนเทนต์ดีๆ โอกาสที่คอนเทนต์นั้นจะโดนส่งต่อใน Google+ มากกว่า Facebook ก็อาจจะมีก็ได้
4. เชื่อมต่อกับกลุ่ม Early Adopters ได้
แน่นอนว่าตอนนี้กลุ่มคนที่เล่น Google+ ส่วนมากจะเป็นคนที่ชอบเทคโนโลยี อารมณ์ว่าชอบเล่นชอบลองอะไรใหม่ๆ ไรงี้ ซึ่งถ้าเราเป็นเจ้าของสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ไอที การมี Google+ ก็จัดว่ามีประโยชน์ เพราะเป็นการเข้าถึงกลุ่ม Early Adopters เหล่านี้ได้โดยตรง
แน่นอนว่าตอนนี้กลุ่มคนที่เล่น Google+ ส่วนมากจะเป็นคนที่ชอบเทคโนโลยี อารมณ์ว่าชอบเล่นชอบลองอะไรใหม่ๆ ไรงี้ ซึ่งถ้าเราเป็นเจ้าของสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ไอที การมี Google+ ก็จัดว่ามีประโยชน์ เพราะเป็นการเข้าถึงกลุ่ม Early Adopters เหล่านี้ได้โดยตรง
5. แบ่งกลุ่ม audience ได้
เช่น ถ้าเราทำธุรกิจขายเสื้อผ้า เราก็อาจจะแบ่งกลุ่มลูกค้าตาม Circle ได้เป็น ลูกค้าผู้ชาย ลูกค้าผู้หญิง ลูกค้าเด็ก บลาๆๆ ซึ่งพอเวลาเราจะสื่อสารอะไร เราก็สามารถแชร์ให้กลุ่มลูกค้าได้ตาม Circle ที่เราจัดเอาไว้และตรงเป้าหมายด้วย
เช่น ถ้าเราทำธุรกิจขายเสื้อผ้า เราก็อาจจะแบ่งกลุ่มลูกค้าตาม Circle ได้เป็น ลูกค้าผู้ชาย ลูกค้าผู้หญิง ลูกค้าเด็ก บลาๆๆ ซึ่งพอเวลาเราจะสื่อสารอะไร เราก็สามารถแชร์ให้กลุ่มลูกค้าได้ตาม Circle ที่เราจัดเอาไว้และตรงเป้าหมายด้วย
6. ใช้ Google+ เพื่อสร้างเครือข่าย
ด้วยลักษณะการดีไซน์ของ Google+ ที่จัดวางเนื้อหาได้อ่านง่ายสบายตา ก็สามารถทำให้คนที่เข้ามาดู Page ของเรานั้น หาข้อมูลเกี่ยวกับเรา หรือจะติดต่อเราผ่าน Contact Info ก็ทำได้ง่าย หรือจะกดลิงก์ไปยังเว็บไซต์ของเรา ก็ทำได้ง่าย่นเดียวกัน
ด้วยลักษณะการดีไซน์ของ Google+ ที่จัดวางเนื้อหาได้อ่านง่ายสบายตา ก็สามารถทำให้คนที่เข้ามาดู Page ของเรานั้น หาข้อมูลเกี่ยวกับเรา หรือจะติดต่อเราผ่าน Contact Info ก็ทำได้ง่าย หรือจะกดลิงก์ไปยังเว็บไซต์ของเรา ก็ทำได้ง่าย่นเดียวกัน
7. มีไว้ไม่เสียหลาย
ถึงตอนนี้ Google+ จะยังมีคนใช้ไม่มาก อย่างที่บอกไปข้างต้น แต่การได้เริ่มเข้าไปทำอะไรก่อน ก็อาจจะเป็นโอกาสดีที่เราจะเติบโตได้เร็วกว่าคนอื่น (ใน Google+ Page น่ะนะ) อารมณ์ว่าต่อยก่อนได้เปรียบไรงี้ ฮ่า
ถึงตอนนี้ Google+ จะยังมีคนใช้ไม่มาก อย่างที่บอกไปข้างต้น แต่การได้เริ่มเข้าไปทำอะไรก่อน ก็อาจจะเป็นโอกาสดีที่เราจะเติบโตได้เร็วกว่าคนอื่น (ใน Google+ Page น่ะนะ) อารมณ์ว่าต่อยก่อนได้เปรียบไรงี้ ฮ่า
ข้อเสียของการมี Google+ Pages
พูดถึงข้อดีของการมี Google+ Pages กันไปเยอะแล้ว ก็มาพูดถึงข้อเสียกันบ้าง คือจริงๆ มันก็ไม่เชิงว่าเป็นข้อเสียหรอก แต่เป็นประเด็นยิบย่อยที่ทำให้ยุ่งยากในการดูแล Google+ Pages นั่นเอง มีอะไรบ้างมาดูกันฮับ
1. เสียเวลาในการมาดูแล Google+ Pages
ในขณะที่ Facebook และ Twitter ต่างมี Third Party ที่ช่วยให้เราอัป status หรือเขียนบล็อกปุ๊บ โพสต์ขึ้น Wall และ Timeline ได้ปั๊บ ในขณะที่ Google+ ยังไม่มี ต้องมานั่งอัปเดตเองล้วนๆ โฮก
ในขณะที่ Facebook และ Twitter ต่างมี Third Party ที่ช่วยให้เราอัป status หรือเขียนบล็อกปุ๊บ โพสต์ขึ้น Wall และ Timeline ได้ปั๊บ ในขณะที่ Google+ ยังไม่มี ต้องมานั่งอัปเดตเองล้วนๆ โฮก
2. ยังใช้ Social Dashboard Client ไม่ได้
จริงๆ ข้อนี้ก็คล้ายกับข้อแรก ก็คือไม่สามารถจัดการ Google+ Pages ได้จากที่อื่นเลย (ในขณะที่ TweetDeck นี่ โพสต์ได้ทั้ง Twitter และ Facebook แหล่มจริงอะไรจริง)
3. อัตราการเติบโตช้าในขณะที่ถ้าเราสร้าง Facebook Pages แล้วอยากให้คนมากด Like เราก็มีกรรมวิธีมากมายที่จะชวนเพื่อนมา Like Page (รวมถึงการสร้างแคมเปญผ่าน Facebook App ไรงี้) แต่ Google+ นี่ กว่าจะมีคนมากด +1 หรือ Add to Circles ซักที มันช่างยากเย็นแสนเข็ญเหลือเกินเนอะ
จริงๆ ข้อนี้ก็คล้ายกับข้อแรก ก็คือไม่สามารถจัดการ Google+ Pages ได้จากที่อื่นเลย (ในขณะที่ TweetDeck นี่ โพสต์ได้ทั้ง Twitter และ Facebook แหล่มจริงอะไรจริง)
3. อัตราการเติบโตช้าในขณะที่ถ้าเราสร้าง Facebook Pages แล้วอยากให้คนมากด Like เราก็มีกรรมวิธีมากมายที่จะชวนเพื่อนมา Like Page (รวมถึงการสร้างแคมเปญผ่าน Facebook App ไรงี้) แต่ Google+ นี่ กว่าจะมีคนมากด +1 หรือ Add to Circles ซักที มันช่างยากเย็นแสนเข็ญเหลือเกินเนอะ